รับปิดงบการเงินเปล่า ศรีสะเกษ

Posted on Posted in รับปิดงบการเงินชาวต่างชาติ, รับปิดงบรอบไม่ปกติ, รับปิดงบเปล่า
ติดต่อจดทะเบียนบริษัท

รับปิดงบการเงินเปล่า

ให้บริการด้านการจัดตั้งธุรกิจ รับปิดงบการเงินเปล่า รับปิดงบการเงินทั่วไทย ทราบกันดีว่า ทุกๆ สิ้นปี 31 ธันวาคม นิติบุคคลจะต้องปิดงบการเงิน เพื่อ นำส่ง กระทรวงพาณิชย์ กรมสรรพากร และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีระยะเวลากำหนดรับงบการเงิน หากยื่น เกินกำหนด ก็จะก่อให้เกิด ค่าปรับต่างๆ และยังส่งผลกระทบด้านอื่น ตามมา เช่น บางบริษัท อาจจะเป็นต้องใช้งบการเงินในการยืมกู้สินเชือต่างๆ หรือใช้ประมูลงานราชการซึ่งจำเป็นต้องใช้งบการเงิน ประกอบ ดังนั้น บริษัท ยินดีที่จะให้บริการ ปิดงบการเงินให้กับ นิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญ นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม มูลนิธิ นิติบุคคลหมู่บ้าน โรงเรียน ฯลฯ การยื่นภาษีบุคคลธรรมดา ใบทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า) หน้าที่การยื่น แบบแสดงรายได้ เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่มีรายได้ ให้ยื่น ภายในสินเดือน มีนาคม ของทุกปี ซึ้งของดีคือ ผุ้ประกอบการสามารรถใช้เอกสารการเสียภาษี เป็นเอกสารประกอบการยืมกู้ของสินเชือได้ เพราะสถาบันการเงินจะขอหลักฐานที่แสดงว่ามีรายได้

บริการเริ่มตั้งแต่การให้ คำแนะนำในการเลือกประเภทจดทะเบียนธุรกิจ วางระบบบัญชี ทำบัญชีรายเดือน การวางแผนกำหนดชำระภาษี ปิดงบการเงิน จนถึง ตรวจสอบงบการเงิน พร้อมนำส่ง กระทรวงพาณิชย์ และกรมสรรพากร ให้ทันตามเวลากำหนด โดยให้ลูกค้าเสียภาษี น้อยที่สุดตามที่กฎหมายกำหนด

สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจ ไม่ใช่การจัดตั้งบริษัทจำกัด หรือจดห้างหุ้นส่วนจำกัด แต่เป็นเรื่องของการวางแผนภาษี การจัดทำบัญชี มากกว่า การดูแลให้ธุรกิจอยู่รอดในแต่ละปี ทำอย่างไรถึงจะมีงานตลอด ขายของได้ตลอด มียอดขายดี สิ่งที่ผู้ประกอบการ SME ต้องการมากกว่าแค่การทำบัญชีทั่วๆไป คือ “คำปรึกษา” ซึ่งทางบริษัท ควิกแอคเคาท์ติ้ง จำกัด เป็นมากกว่าสำนักงานบัญชี สิ่งที่เราให้ จะมีมูลค่ามากกว่าค่าบริการที่เราได้รับ เราให้ได้เพราะเราขาย “ประสบการณ์” ประสบการณ์ที่ผู้บริหารหลายท่านต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ แต่เรานำมาถ่ายทอดให้ท่านฟรี เพียงเพราะเราต้องการให้ธุรกิจของท่านเติบโต และดำเนินไปด้วยความราบรื่นด้วยดีตลอดไป
ปรึกษาเรื่องการปิดงบการเงิน จดทะเบียนบริษัท ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เราดำเนินงานด้าน รับจดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนบริษัท อย่างมีระบบ และคำนึงถึงความถูกต้อง เราสามารถช่วยหาทางออกในการดำเนินธุรกิจของท่านให้ประสบความสำเร็จได้ โทร 083-622-5555

รับปิดงบเปล่า รับปิดงบการงานเงินเปล่า ปิดงบเปล่า ปิดงบการเงินเปล่า ปิดงบเปล่าด่วน

บริการจดทะเบียนบริษัท

รับจดทะเบียนบริษัททุกประเภท ทั่วไทย เริ่มตั้งแต่ให้คำปรึกษา จองชื่อนิติบุคคล จัดเตรียมแบบ ไปจดทะเบียน ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

บริการขอใบอนุญาต

บริการยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงงาน ท่องเที่ยว ใบอนุญาต อย.และ สคบ. ขอวีซ่า work permit ขออนุญาตเป็นตัวแทนออกของ

บริการด้านรับทำบัญชี

บริการด้านรับทำบัญชี เพียงไม่กี่รายในประเทศไทย ที่มีมาตรฐานในการทำงาน เนื่องด้วยผู้บริหารหลายท่าน มีวิสัยทัศน์ในเรื่องการบริหาร การตลาดยุคใหม่

 

พิเศษ !!! สำหรับลูกค้าจดทะเบียนใหม่

ส่วนลดพิเศษ!! จัดทำเว็บไซต์จาก
ปกติ 12,000 บาท เหลือเพียง 5,000 บาท
ฟรี !!! ระบบอีเมล์ภายใต้ชื่อโดเมนเนม

 

พิเศษ !!!  ลูกค้าจดทะเบียนใหม่และทำบัญชี

  • ฟรี เว็บไซต์ สำหรับบริษัทพร้อมแนะนำการทำตลาดออนไลน์
  • ฟรี ออกแบบโลโก้บรษัท
  • ฟรี รูปแบบใบส่งสินค้า ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงินและเอกสารสำคัญอื่นๆ
  • ฟรี ขึ้นทะเบียน ระบบ E-FILING เพื่อใช้นำส่งงบการเงินกับกระทรวงพาณิชย์
  • ฟรี จดทะเบียน ภ.อ.01 เพื่อใช้ยื่นภาษีผ่าระบบออนไลน์
  • ฟรี จัดเตรียมเอกสารขึ้นทะเบียน E-GP (ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ)
  • ฟรี ที่ปรึกษาด้านการตลาดและบริหารธุรกิจ

สิ่งที่ลูกค้าได้รับ
ฟรี จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ฟรี ออกแบบตรายางให้เลือก 3 แบบ
ฟรี ตรายางหมึกในตัว 2 อัน *
ฟรี ไฟล์ตรายาง สำหรับนำไปใช้งาน (ไฟล์ AI)
ฟรี เอกสารสำหรับเปิดบัญชีธนาคาร
ฟรี แบบฟอร์มเอกสารทางบัญชี
ฟรี นามบัตรสำหรับออกใบกำกับภาษี
ฟรี คอร์สอบรมผู้ประกอบการใหม่ (มูลค่า 5,900 บาท)
ฟรี จัดทำบัญชี ฟรี 1 เดือน ***

ใบสำคัญจดทะเบียนพาณิชย์
หนังสือรับรองบริษัท
รายละเอียดวัตถุประสงค์บริษัท
รายงานการประชุมตั้งบริษัท
หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2)
รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (บอจ.3)
สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
ออกแบบเว็บไซต์ องค์กร/หน่วยงาน ราคาพิเศษ 5,000 บาท

*** หมายเหตุ
– * ตรายางอันที่ 2 และ 3 เป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
–  *** จัดทำบัญชีฟรี 1 เดือน สำหรับลูกค้าใหม่ที่ตกลงใช้บริการทำบัญชี ตั้งแต่ 12 เดือน ขึ้นไป

จังหวัดศรีสะเกษ

ปราสาทสระกำแพงใหญ่วัดล้านขวดเขื่อนราษีไศลวัดพระธาตุเรืองรองรูปปั้นพญานาคที่สถานีรถไฟศรีสะเกษ 

คำขวัญ: แดนปราสาทขอม หอมกระเทียมดี มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัคคี

ศรีสะเกษ เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ลักษณะภูมิประเทศทางตอนใต้เป็นที่สูง และค่อย ๆ ลาดต่ำไปทางเหนือลงสู่ลุ่มแม่น้ำมูลซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด ปัจจุบันมีเนื้อที่ 8,840 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยอำเภอ 22 อำเภอ มีประชากรราว 1.47 ล้านคน ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย ซึ่งพูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กัน อาทิ ภาษาลาว (สำเนียงลาวใต้ซึ่งใช้ครอบคลุมทั้งฝั่งอุบลราชธานีและจำปาศักดิ์), ภาษากูย, ภาษาเยอ และภาษาเขมรถิ่นไทย ส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนและนับถือผีมาแต่เดิม

มีการตั้งถิ่นฐานในจังหวัดศรีสะเกษมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนเกิดพัฒนาการที่เข้มข้นในสมัยอาณาจักรขอมซึ่งได้ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมหลายประการไว้ เช่น ปราสาทหินและปรางค์กู่ ครั้นในสมัยอาณาจักรอยุธยาตอนปลาย ได้มีการยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน(บริเวณใกลๆปราสาทกุด หรือปราสาทสี่เหลียมโคกลำดวน วัดเจ็ก อำเภอขุขันธ์ ในปัจจุบัน) เป็นเมืองขุขันธ์ พ.ศ. 2449 ได้มีการย้ายเฉพาะ ศาลากลางเมืองขุขันธ์ จากที่ตั้งเดิม คืออำเภอเมืองขุขันธ์ ไปตั้งบริเวณศาลากลางเมืองศีร์ษะเกษ แต่ยังคงใช้ชื่อ ศาลากลางเมืองขุขันธ์ ส่วนพื้นที่ อำเภอเมืองขุขันธ์  เมืองขุขันธ์  ประเทศสยาม ยังอยู่ที่ตั้งแห่งเดิม โดยเหตุผลที่ย้ายเฉพาะ ศาลากลางเมืองขุขันธ์ จากที่ตั้งเดิมก็เพื่อความมั่นคง กล่าวคือ

๑. พื้นที่ซึ่งจะยกฐานะหรือตั้งเป็นจังหวัด มักจะไม่ตั้งในพื้นที่ติดพรมแดนของประเทศเพื่อนบ้าน

๒. เพื่อป้องกันการแสวงหาเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจผู้ล่าเมืองขึ้น โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศส เป็นต้น

๓. เพื่อรองรับความเจริญที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะยุคนั้น จะสร้างเส้นทางรถไฟจากโคราชสู่ปลายทางอุบลราชธานี

๔. เพื่อให้ห่างไกลจากการรบกวนของผู้ที่ยังเคารพศรัทธาท้าวบุญจันทร์(น้องชายเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ ๙) ที่ถูกกว่าวหาว่าเป็นกบถซึ่งถูกปราบและเสียชีวิต

พ.ศ. 2459 ตรงกับวันที่ วันที่ 19 พฤษภาคม 2459 ร.6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” ผู้ว่าราชการเมือง เรียกว่า “ผู้ว่าราชการจังหวัด” เมืองขุขันธ์ จึงเปลี่ยนนามจากเดิมเป็น จังหวัดขุขันธ์

ประกาศเรื่องเปลี่ยนชื่ออำเภอ พ.ศ. 2460 เน้นจังหวัดขุขันธ์

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศเรื่องเปลี่ยนชื่ออำเภอ พ.ศ. 2460 เน้นจังหวัดขุขันธ์

พ.ศ. 2460 พื้นที่ของ อำเภอเมืองขุขันธ์  จังหวัดขุขันธ์ ประเทศสยาม  ยังคงอยู่ที่ตั้งเดิม แต่ต่อมาวันที่ ๒๙ เมษายน  ๒๕๖๐ อำเภอเมืองขุขันธ์   ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอห้วยเหนือ และอำเภอเมืองศีร์ษะเกษ ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอศีร์ษะเกษ (ที่มา : ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 34 หน้า 40 วันที่ 29 เม.ย. 2460)

พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๑

พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๑

พ.ศ. 2481 เปลี่ยนชื่อจังหวัดขุขันธ์ เป็นชื่อ จังหวัดศีร์ษะเกษ เปลี่ยนชื่อ อำเภอห้วยเหนือ เป็นชื่อ อำเภอขุขันธ์ ตั้งแต่วันที่ ๑๔ พ.ย. ๒๔๘๑ เป็นต้นมา

แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญในจังหวัดศรีสะเกษ เช่น อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ผามออีแดง, สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ, ปรางค์กู่, ปราสาทสระกำแพงน้อย, ปราสาทสระกำแพงใหญ่, ปราสาทเยอ, ปราสาทบ้านปราสาท, ปราสาทโดนตวล, บึงนกเป็ดน้ำไพรบึง, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา ส่วนด้านเศรษฐกิจนั้นพึ่งพาเกษตรกรรมเป็นหลัก พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าวหอมมะลิ, ผลไม้ เช่น ทุเรียน และเงาะ, พืชสวน เช่น หอมแดง, กระเทียม และยางพารา ตลอดจนพืชไร่ เป็นต้นว่า มันสำปะหลัง และถั่วลิสง

ประวัติศาสตร์

ก่อนประวัติศาสตร์

หลักฐานทางโบราณคดีในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ แสดงให้เห็นการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในพื้นที่นี้ย้อนหลังไปตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สมัยก่อนที่จะมีการใช้ตัวอักษรหรือภาษาเขียน จารึกเรื่องราวต่างๆในสังคมมนุษย์) ตอนปลาย ในยุคเหล็กราว 2,500 ปีมาแล้ว เช่น แหล่งภาพสลักบริเวณผาเขียน-ผาจันทน์แดง ในเขตอำเภอขุนหาญ ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก อันเป็นเขตพื้นที่สูงทางตอนใต้ของจังหวัดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา นอกจากนั้นยังร่องรอยชุมชนสมัยเหล็กอยู่ในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ทางตอนเหนือของจังหวัด เช่น กลุ่มชุมชนโบราณในเขตอำเภอราษีไศล ซึ่งปรากฏร่องรอยชุมชนที่มีหลักฐานโครงกระดูกมนุษย์ ที่ได้รับการฝังศพพร้อมกับวัตถุอุทิศอันเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็กและภาชนะดินเผา ตลอดจนแบบแผนพิธีกรรมฝังศพแบบวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล-ชี หรือที่เรียกว่า”วัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้”

สมัยทวารวดี

ต่อมาในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 (ประมาณ 1,400 – 1,200 ปีมาแล้ว) ชุมชนสมัยเหล็ก (โดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ทางตอนเหนือของจังหวัด) ได้มีพัฒนาการต่อมาเป็นชุมชนในพุทธศาสนา นิกายเถรวาทหรือหินยาน มีการจารึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ด้วยตัวอักษรหรือภาษาเขียนแบบโบราณ จึงจัดเป็นช่วง “ยุคหรือสมัยประวัติศาสตร์” ตอนต้น รวมทั้งมีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ โดยการขุดคูน้ำและสร้างคันดินล้อมรอบเมือง เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำในฤดูแล้งและใช้เป็นแนวป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ชุมชนโบราณสำคัญที่มีลักษณะผังเมืองดังกล่าวนี้ เช่น เมืองโบราณที่มีคูน้ำ-คันดินในเขตอำเภอราษีไศล, เมืองโบราณโคกขัณฑ์(គោកខណ្ឌ)ซึ่งเป็นที่ตั้งตัวอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน

สมัยขอมหรือเขมรโบราณ

ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-17 (ประมาณ 1,300 – 900 ปีมาแล้ว) ก็มีชุมชนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับกระแสวัฒนธรรมแบบขอมโบราณตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตตอนกลางและตอนล่างของพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่นับถือเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-16) และพุทธศาสนา นิกายมหายาน (ช่วงพุทธศตวรรษที่ 17) โดยปรากฏเป็นชุมชนขนาดน้อยใหญ่กระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง หลายชุมชมมีการก่อสร้างศาสนาสถานซึ่งเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันคือปราสาทหินโบราณ เช่น ปราสาทหินสระกำแพงใหญ่ปราสาทหินสระกำแพงน้อยใน เขตอำเภออุทุมพรพิสัย , ปราสาทบ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน, ปราสาทกู่สมบูรณ์ อำเภอบึงบูรพ์, ปราสาททามจาน(หรือปราสาทบ้านสมอ)ปราสาทปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่, ปราสาทตาเล็ง อำเภอขุขันธ์, ปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง, ปราสาทภูฝ้าย ปราสาทพระวิหารและพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์บริเวณพะลานหินเขตผามออีแดง ปราสาทโดนตวล อำเภอกันทรลักษ์, ปราสาทหนองปราสาท ปราสาทตำหนักไทร อำเภอขุนหาญ เป็นต้น โบราณสถานที่เรียกว่าปราสาทหินแบบศิลปะขอมที่พบเป็นจำนวนมากในจังหวัดศรีสะเกษ ส่งผลให้จังหวัดศรีสะเกษได้รับสมญานามว่า “เมืองปรางค์ร้อยกู่” หรือ “นครร้อยปราสาท”

สมัยอยุธยา

การสร้างบ้านแปงเมืองซึ่งเป็นต้นเค้าของการพัฒนามาเป็นจังหวัดศรีสะเกษ ได้ปรากฏชัดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ตั้งแต่ พ.ศ. 2232 ในระยะนั้น เดิมเมืองขุขันธ์ หรือพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษปัจจุบัน มีกลุ่มชนเผ่าที่ถูกราชสำนักกรุงเทพ เรียกว่า เขมรป่าดง จำนวน 6 กลุ่ม อาศัยอยู่กันมานานแล้วและได้ตั้งเป็นชุมชน ต่างๆ ดังนี้

ตากะจะ(หรือตาไกร)และ เชียงขันธ์ มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน (บริเวณใกล้ปราสาทกุด หรือปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน วัดเจ็ก ในเขตอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบัน)

เชียงปุม มาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านเมืองที ต่อมาได้สร้างบ้านเมืองอยู่ที่บ้านคูปทายและยกเป็นปทายสมันต์ (จังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบัน)ส่วนเมืองทีให้เชียงปิดน้องชายเป็นหัวหน้าปกครอง

เชียงฆะ มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านอัจจะปนึง หรือเมืองดงยาง (ในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบัน)

เชียงชัย มาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านจารพัต (ในเขตอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบัน)

เชียงสง มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านเมืองลิง (ในเขตอำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบัน)

เชียงสี (ตากะอาม) มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่กุดหวาย (อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบัน)

อนุสาวรีย์ พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (หลวงแก้วสุวรรณ หรือ ตากะจะ) เจ้าเมืองคนแรกผู้ก่อตั้งเมืองขุขันธ์ ต้นเค้าที่พัฒนามาเป็นจังหวัดขุขันธ์และจังหวัดศรีสะเกษ

อนุสาวรีย์ พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (หลวงแก้วสุวรรณ หรือ ตากะจะ) เจ้าเมืองขุขันธ์คนแรก

ชุมชนชาวเขมรป่าดงดังกล่าวได้อยู่อาศัยเรื่อยมาจนล่วงเข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ใน พ.ศ. 2302 รัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ พญาช้างเผือกมงคลในราชสำนักแตกโรงมาจากจากกรุงศรีอยุธยา หนีเข้าป่าไปรวมอยู่กับโขลงช้างป่าในเทือกเขาพนมดงรัก ตากะจะหรือตาไกรและเชียงขัน พร้อมด้วยหัวหน้าชนเผ่าเขมรป่าดงได้รับอาสาตามจับพญาช้างเผือกได้แล้วนำส่งถึงกรุงศรีอยุธยา ด้วยความชอบในครั้งนี้จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ “ตากะจะ” หรือ “ตาไกร” เป็น “หลวงแก้วสุวรรณ” ตำแหน่งหัวหน้านายกอง ปกครองหมู่บ้าน โดยโปรดให้ยก บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวนขึ้นเป็น เมือง “ขุขันธ์” ซึ่งอยู่ที่บริเวณใกล้ปราสาทกุด หรือปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน วัดเจ็ก อำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน จนล่วง พ.ศ. 2306 หลวงแก้วสุวรรณนำเครื่องบรรณาการถวายพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยา ความชอบครั้งนี้ได้โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ให้หลวงแก้วสุวรรณ เป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน ตำแหน่งเจ้าเมืองขุขันธ์คนแรก

หม่อมอมรวงศ์วิจิตร กล่าวไว้ในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานกล่าวว่า เดิมพื้นที่ในมณฑลลาวทางนี้ เมื่อก่อนจุลศักราชได้ 1,000 ปี ก็เป็นทำเลป่าดง (เป็นการเรียกไปเองของสมัยกรุงศรีอยุธยา) ซึ่งเป็นที่อาศัยของพวกคนอันสืบเชื้อสายมาแต่ขอม ต่อมาเรียกกันว่า “กูย (กวย)” ซึ่งยังมีอาศัยอยู่ในฝั่งโขงตะวันออก ซึ่งปรากฏหลักฐานการสร้างปราสาทหิน และจากอิฐดินเผาจำนวนมากมีกระจายอยู่ทั่วไปในแถบอิสานใต้ ละโว้ (ลพบุรี) ไปจนถึงในเขตภาคกลาง (สมัยกรุงศรีอยุธยา หรือสมัยอาณาจักรทาวราวดี) และภาคเหนือตอนล่าง

สมัยธนบุรี

ลุถึงสมัยกรุงธนบุรี ระหว่างปี พ.ศ. 2319–2321 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสิน) โปรดเกล้าฯ มีรับสั่งให้พระยาจักรี (ทองด้วง) ไปทำศึกปราบกบฏกับเวียงจันทน์ พระไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตากะจะ) และหลวงปราบ ได้เกณฑ์กำลังไปช่วยรบอย่างเข้มแข็งจนได้รับชัยชนะทุกครั้ง ถือว่ามีความดีความชอบจึงได้โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ใน พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้แยกบ้านโนนสามขาสระกำแพงออกจากเมืองขุขันธ์ แล้วตั้งเป็นเมืองใหม่คือ เมืองศรีสะเกษ ต่อมาใน พ.ศ. 2354 เมืองขุขันธ์ ขอพระราชทานพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ยกบ้านลังเสนเป็น เมืองกันทรลักษณ์ แล้วย้ายเมืองกันทรลักษณ์มาอยู่ที่บ้านลาวเดิม และยกบ้านแบบเป็น เมืองอุทุมพรพิสัย แล้วย้ายไปอยู่ที่บ้านปรือ ต่อมาใน พ.ศ. 2386 ได้จัดตั้งบ้านลำโดมใหญ่ เป็น เมืองเดชอุดม ขึ้นกับเมืองขุขันธ์ ต่อมาใน พ.ศ. 2388 ได้ตั้งบ้านไพรตระหมักและบ้านตาสี เป็น เมืองมโนไพร ขึ้นกับเมืองขุขันธ์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศกัมพูชา เรียกว่า เมืองมะลูเปรย)

สมัยรัชกาลที่ 5 ถึงปัจจุบัน

ใน พ.ศ. 2418 เมืองหนองคายเกิดกบฏโดยกลุ่มฮ่อ โปรดเกล้าฯ ให้แม่ทัพคุมกองทัพจากนครราชสีมา และกองทัพจากเมืองต่างๆ รวมทั้ง เมืองขุขันธ์ เมืองเดชอุดม และเมืองศรีสะเกษ ไปปราบกบฏฮ่อที่หนองคาย สามารถตีกลุ่มกบฏฮ่อแตกพ่ายยับเยิน ที่เหลือก็ถูกจับเป็นเชลยทั้งหมด ต่อมาใน พ.ศ. 2424 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ เริ่มใช้นโยบายเลิกทาส มีสารตรา ไปยังหัวเมืองด้านตะวันออก ห้ามมิให้จับข่า มาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนและใช้สอยการงานต่าง ๆ และส่วนผู้ใดได้ซื้อหามาจากผู้ใดอยู่ก่อนนั้น ก็ให้อยู่กับผู้นั้นต่อไป เพราะถ้าจะให้ข้าทาสนั้นหลุดพ้นค่าตัวไปก็จะเป็นเหตุเดือดร้อนแก่มูลนายซึ่งเป็นผู้ซื้อและแลกเปลี่ยนมาก่อนนั้น นอกจากนี้พระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้วางโครงข่ายระบบโทรเลขจากเมืองขุขันธ์ไปยังเมืองต่างๆ 2 สายคือ สร้างทางสายโทรเลขขุขันธ์-จำปาศักดิ์ และสร้างทางสายโทรเลขจากเมืองขุขันธ์-มโนไพร-เมืองเสียมราฐ นอกจากนี้ยังจัดตั้งบ้านโนนหินกอง เป็น เมืองราษีไศล ขึ้นกับเมืองศรีสะเกษ

ใน พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนออกไปตั้งอยู่ ณ เมืองนครจำปาศักดิ์ กองหนึ่งให้เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว ให้เมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองเชียงแตง เมืองแสนปาง เมืองสีทันดร เมืองสาลวัน เมืองอัตตะปือ เมืองคำทองใหญ่ เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ เมืองขุขันธ์ เมืองเดชอุดม เมืองศีร์ษะเกษ เมืองอุบล เมืองยโสธร เมืองเขมราฐ เมืองกมลาไสย เมืองสุวรรณภูมิ เมืองกาฬสินธุ์ เมืองภูแล่นช้าง เมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม ทั้งหมดนี้เป็นเมืองใหญ่ 21 เมือง นอกจากนี้ยังมีเมืองขึ้น 43 เมือง อยู่ในบังคับบัญชาข้าหลวงเมืองลาวกาว และในปีถัดมา พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จัดรูปการปกครองแบบมณทลขึ้น โดยให้เมืองศรีสะเกษขึ้นอยู่กับมณฑลอีสาน

ใน พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสได้ยกทัพขึ้นทางเมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร และเมืองสมโบก ซึ่งสมันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรในฐานะผู้สำเร็จราชการข้าหลวงใหญ่มณฑลอีสานได้รับหน้าที่ผู้อำนวยการป้องกันราชอาณาจักร ให้เกณฑ์กำลังหัวเมืองสุรินทร์ เมืองศรีสะเกษ เมืองขุขันธ์ เมืองมหาสารคาม และเมืองร้อยเอ็ด เมืองละ 800 เมืองสุวรรณภูมิ และเมืองยโสธร เมืองละ 500 ฝึกการรบแล้วส่งกำลังรบเหล่านี้เข้าตรึงการรุกรานของฝรั่งเศสทุกจุด สถานการณ์สงครามสงบลงในเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2436 ต่างฝ่ายต่างถอนกำลังรบ กำลังรบของเมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ จึงได้กลับคืนบ้านเมือง อาจกล่าวได้ว่านับแต่ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเกิดศึกสงครามจากข้าศึกนอกราชอาณาจักร ชาวขุขันธ์และชาวศรีสะเกษจะมีบทบาทในการป้องกันบ้านเมืองด้วยเสมอ โดยในระยะเวลาดังกล่าวนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อจัดการปกครองภายในหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือให้เป็นระเบียบแบบแผนยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นข้าหลวงใหญ่ประจำหัวเมืองลาวกาวและเปลี่ยนชื่อใหม่ว่ามณฑลลาวกาว สืบแทนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร นอกจากนี้พระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้พระศรีพิทักษ์ (หว่าง) เป็นข้าหลวงเมืองขุขันธ์ โดยรวมเมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์และเมืองสังขะ เป็นบริเวณเดียวกัน ตั้งที่ทำการข้าหลวง ณ เมืองขุขันธ์

ใน พ.ศ. 2445 ได้เปลี่ยนชื่อ มณฑลอีสาน เป็น มณฑลอุบล มีเมือง 3 เมืองขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของมณฑลอุบล คือ เมืองอุบลราชธานี เมืองขุขันธ์ และเมืองสุรินทร์ และใน พ.ศ. 2447

เมืองขุขันธ์ไม่เคยโยกย้ายมาจากที่ใด   เมืองขุขันธ์  ก็ตั้งอยู่ ณ พื้นที่ของเมืองขุขันธ์ ในปัจจุบันนี้เอง  แต่เป็นการเลื่อนเมืองขุขันธ์และหลักเมืองจากที่ตั้งเดิม  ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มายังทิศตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นที่ตั้งของเมืองขุขันธ์และหลักเมืองในปัจจุบัน

ใน พ.ศ. 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รวมบ้านเมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ และเมืองเดชอุดม เข้าเป็นเมืองเดียวกัน เรียก “เมืองขุขันธ์”

วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 มี “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัด” โดยให้เรียกเมืองขุขันธ์ใหม่เป็น “จังหวัดขุขันธ์”

เขตการปกครองของจังหวัดขุขันธ์ในอดีตมี 7 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ซึ่งรายชื่อดังต่อไปนี้สะกดชื่อตามราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460 ได้แก่

อำเภอเมืองขุขันธ์

อำเภอศีร์ษะเกษ

อำเภอราษีไสล (อำเภอคง)

อำเภอรัตนบุรี (ต่อมาถูกโอนไปขึ้นกับจังหวัดสุรินทร์)

อำเภอกันทรลักษ์ (อำเภอน้ำอ้อม)

อำเภออุทุมพรพิไสย

อำเภอเดชอุดม (ต่อมาได้รับการโอนไปขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานีใน พ.ศ. 2472)

กิ่งอำเภอบัวบุณฑริก (หรืออีกชื่อหนึ่งคือกิ่งอำเภอโพนงาม ซึ่งแยกออกมาจาก อำเภอเดชอุดม ใน พ.ศ. 2466 ต่อมาได้รับการโอนไปขึ้นกับ จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมกับอำเภอเดชอุดม)

วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้ตรา “พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่ง”โดยในมาตรา 3 กำหนดให้เปลี่ยนชื่อ “จังหวัดขุขันธ์” เป็น จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน