รับปิดงบการเงินเปล่า
ให้บริการด้านการจัดตั้งธุรกิจ รับปิดงบการเงินเปล่า รับปิดงบการเงินทั่วไทย ทราบกันดีว่า ทุกๆ สิ้นปี 31 ธันวาคม นิติบุคคลจะต้องปิดงบการเงิน เพื่อ นำส่ง กระทรวงพาณิชย์ กรมสรรพากร และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีระยะเวลากำหนดรับงบการเงิน หากยื่น เกินกำหนด ก็จะก่อให้เกิด ค่าปรับต่างๆ และยังส่งผลกระทบด้านอื่น ตามมา เช่น บางบริษัท อาจจะเป็นต้องใช้งบการเงินในการยืมกู้สินเชือต่างๆ หรือใช้ประมูลงานราชการซึ่งจำเป็นต้องใช้งบการเงิน ประกอบ ดังนั้น บริษัท ยินดีที่จะให้บริการ ปิดงบการเงินให้กับ นิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญ นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม มูลนิธิ นิติบุคคลหมู่บ้าน โรงเรียน ฯลฯ การยื่นภาษีบุคคลธรรมดา ใบทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า) หน้าที่การยื่น แบบแสดงรายได้ เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่มีรายได้ ให้ยื่น ภายในสินเดือน มีนาคม ของทุกปี ซึ้งของดีคือ ผุ้ประกอบการสามารรถใช้เอกสารการเสียภาษี เป็นเอกสารประกอบการยืมกู้ของสินเชือได้ เพราะสถาบันการเงินจะขอหลักฐานที่แสดงว่ามีรายได้
บริการเริ่มตั้งแต่การให้ คำแนะนำในการเลือกประเภทจดทะเบียนธุรกิจ วางระบบบัญชี ทำบัญชีรายเดือน การวางแผนกำหนดชำระภาษี ปิดงบการเงิน จนถึง ตรวจสอบงบการเงิน พร้อมนำส่ง กระทรวงพาณิชย์ และกรมสรรพากร ให้ทันตามเวลากำหนด โดยให้ลูกค้าเสียภาษี น้อยที่สุดตามที่กฎหมายกำหนด
สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจ ไม่ใช่การจัดตั้งบริษัทจำกัด หรือจดห้างหุ้นส่วนจำกัด แต่เป็นเรื่องของการวางแผนภาษี การจัดทำบัญชี มากกว่า การดูแลให้ธุรกิจอยู่รอดในแต่ละปี ทำอย่างไรถึงจะมีงานตลอด ขายของได้ตลอด มียอดขายดี สิ่งที่ผู้ประกอบการ SME ต้องการมากกว่าแค่การทำบัญชีทั่วๆไป คือ “คำปรึกษา” ซึ่งทางบริษัท ควิกแอคเคาท์ติ้ง จำกัด เป็นมากกว่าสำนักงานบัญชี สิ่งที่เราให้ จะมีมูลค่ามากกว่าค่าบริการที่เราได้รับ เราให้ได้เพราะเราขาย “ประสบการณ์” ประสบการณ์ที่ผู้บริหารหลายท่านต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ แต่เรานำมาถ่ายทอดให้ท่านฟรี เพียงเพราะเราต้องการให้ธุรกิจของท่านเติบโต และดำเนินไปด้วยความราบรื่นด้วยดีตลอดไป
ปรึกษาเรื่องการปิดงบการเงิน จดทะเบียนบริษัท ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เราดำเนินงานด้าน รับจดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนบริษัท อย่างมีระบบ และคำนึงถึงความถูกต้อง เราสามารถช่วยหาทางออกในการดำเนินธุรกิจของท่านให้ประสบความสำเร็จได้ โทร 083-622-5555
รับปิดงบเปล่า รับปิดงบการงานเงินเปล่า ปิดงบเปล่า ปิดงบการเงินเปล่า ปิดงบเปล่าด่วน
บริการจดทะเบียนบริษัท
<p>รับจดทะเบียนบริษัททุกประเภท ทั่วไทย เริ่มตั้งแต่ให้คำปรึกษา จองชื่อนิติบุคคล จัดเตรียมแบบ ไปจดทะเบียน ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า</p>บริการขอใบอนุญาต
<p>บริการยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงงาน ท่องเที่ยว ใบอนุญาต อย.และ สคบ. ขอวีซ่า work permit ขออนุญาตเป็นตัวแทนออกของ</p>บริการด้านรับทำบัญชี
<p>บริการด้านรับทำบัญชี เพียงไม่กี่รายในประเทศไทย ที่มีมาตรฐานในการทำงาน เนื่องด้วยผู้บริหารหลายท่าน มีวิสัยทัศน์ในเรื่องการบริหาร การตลาดยุคใหม่</p>
พิเศษ !!! สำหรับลูกค้าจดทะเบียนใหม่
ส่วนลดพิเศษ!! จัดทำเว็บไซต์จาก
ปกติ 12,000 บาท เหลือเพียง 5,000 บาท
ฟรี !!! ระบบอีเมล์ภายใต้ชื่อโดเมนเนม
พิเศษ !!! ลูกค้าจดทะเบียนใหม่และทำบัญชี
- ฟรี เว็บไซต์ สำหรับบริษัทพร้อมแนะนำการทำตลาดออนไลน์
- ฟรี ออกแบบโลโก้บรษัท
- ฟรี รูปแบบใบส่งสินค้า ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงินและเอกสารสำคัญอื่นๆ
- ฟรี ขึ้นทะเบียน ระบบ E-FILING เพื่อใช้นำส่งงบการเงินกับกระทรวงพาณิชย์
- ฟรี จดทะเบียน ภ.อ.01 เพื่อใช้ยื่นภาษีผ่าระบบออนไลน์
- ฟรี จัดเตรียมเอกสารขึ้นทะเบียน E-GP (ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ)
- ฟรี ที่ปรึกษาด้านการตลาดและบริหารธุรกิจ
สิ่งที่ลูกค้าได้รับ
ฟรี จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ฟรี ออกแบบตรายางให้เลือก 3 แบบ
ฟรี ตรายางหมึกในตัว 2 อัน *
ฟรี ไฟล์ตรายาง สำหรับนำไปใช้งาน (ไฟล์ AI)
ฟรี เอกสารสำหรับเปิดบัญชีธนาคาร
ฟรี แบบฟอร์มเอกสารทางบัญชี
ฟรี นามบัตรสำหรับออกใบกำกับภาษี
ฟรี คอร์สอบรมผู้ประกอบการใหม่ (มูลค่า 5,900 บาท)
ฟรี จัดทำบัญชี ฟรี 1 เดือน ***
ใบสำคัญจดทะเบียนพาณิชย์
หนังสือรับรองบริษัท
รายละเอียดวัตถุประสงค์บริษัท
รายงานการประชุมตั้งบริษัท
หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2)
รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (บอจ.3)
สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
ออกแบบเว็บไซต์ องค์กร/หน่วยงาน ราคาพิเศษ 5,000 บาท
*** หมายเหตุ
– * ตรายางอันที่ 2 และ 3 เป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
– *** จัดทำบัญชีฟรี 1 เดือน สำหรับลูกค้าใหม่ที่ตกลงใช้บริการทำบัญชี ตั้งแต่ 12 เดือน ขึ้นไป
จังหวัดหนองบัวลำภู
คำขวัญ: ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน
หนองบัวลำภู (อักษรไทน้อย: Nongbualamphu thainoi.png, อักษรธรรมอีสาน: อักษรธรรมอีสาน.png) เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ตั้งอยู่ในแอ่งสกลนครและอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เป็นหนึ่งในสามจังหวัดที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2536 ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีพระอริยะสงฆ์อยู่มากอีกจังหวัดหนึ่ง อาทิ หลวงปู่ขาว อนาลโย พร้อมกับจังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดสระแก้ว
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
คำขวัญประจำจังหวัด : ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทยานแห่งชาติภูเก้าภูพานคำ แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน
ตราประจำจังหวัด : ภาพพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประทับยืนหน้าศาลของพระองค์ ซึ่งตั้งอยู่หน้าหนองบัวลำภู
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นพะยูง (Dalbergia cochinchinensis)
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกบัวหลวง (Nymphaea lotus)
สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลาสร้อยขาวหรือปลาขาวสร้อย (Henicorhynchus siamensis)
ดอกบัวหลวง ดอกไม้ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู
ประวัติศาสตร์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ – สมัยทวารวดี – สมัยขอม
จังหวัดหนองบัวลำภูเป็นดินแดนที่อยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประว้ติศาสตร์ ดังหลักฐานที่ขุดค้นพบ จากแหล่งโบราณคดีกุดกวางสร้อยกุดค้อเมย ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ กำไลสำริด กำไลหิน แม่พิมพ์ทำจากหินทรายสำหรับใช้หล่อหัวขวานสำริด เครื่องมือเหล็ก ลูกปัดแก้ว เป็นต้น อายุประมาณ 2,500 ปี ซึ่งสถานที่ขุดค้นพบอยู่ที่บ้านกุดกวางสร้อยและบ้านกุดค้อเมย อำเภอโนนสัง บริเวณเชิงเขาภูพานด้านทิศตะวันตกและเชิงเขาภูเก้าด้านทิศตะวันออก ซึ่งแหล่งโบราณคดีสองแห่งนี้มีอายุใกล้เคียงกับวัฒนธรรมบ้านเชียง
ประมาณ พ.ศ. 1100 – พ.ศ. 1500 ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูได้ค้นพบวัตถุสมัยทวารวดี เช่น ใบเสมา ที่ภูน้อย วัดพระธาตุเมืองพิณ อำเภอนากลาง และวัดป่าโนนคำวิเวก อำเภอสุวรรรคูหา
ประมาณ พ.ศ. 1500 – พ.ศ. 1700 ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูได้รับวัฒนธรรมขอมหรือเขมร พบโบราณสถานหรือโบราณวัตถุที่เป็นศิปละขอมหรือเขมร เช่น ฐานวิหารศิลาแลง ศิลาจารึกวัดพระธาตุเมืองพิณ และอักษารขอมโบราณที่วัดป่าโนนคำวิเวก อำเภอสุวรรณคูหา
สมัยสุโขทัย
พ.ศ. 1896 – พ.ศ. 1961 ในสมัยสุโขทัย เป็นสมัยอาณาจักรล้านช้างก่อกำเนิดในภาคอีสาน ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มและพระเจ้าสามแสนพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอิทธิพลและเป็นเขตอาณาจักรล้านช้าง ครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจนไปถึงแอ่งโคราช และกระจายชุมชนเข้ามาสู่แอ่งสกลนครจนไปถึงบริเวณพระธาตุพนม เลยลงไปถึงแดนเขมรจนปัจจุบันเรียกว่า อีสานใต้ (จากพงศาวดารล้านช้าง) พื้นที่ในจังหวัดหนองบัวลำภูจึงได้รับอิทธิพลล้านช้างซึ่งแพร่หลายในขณะนั้นในบริเวณแอ่งสกลนคร และรับศาสนาพุทธลัทธิลังกาวงศ์ (นิกายเถรวาท) เป็นศาสนาประจำถิ่นตามผู้ปกครองอาณาจักร
สมัยอยุธยา
ประมาณ พ.ศ. 2106 พระไชยเชษฐาธิราชกษัตริย์แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต (กรุงเวียงจันทน์) ได้นำผู้คนอพยพจากหลวงพระบางและเวียงจันทร์มาอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ในปีพ.ศ. 2106 หลังจากที่สร้างเมืองเวียงจันทร์ในปีพ.ศ. 2103 และก็อยู่ในระหว่างการสร้างพระธาตุศรีสองรัก ซึ่งภาคอีสานก็อยู่ในเขตอาณาจักรล้านช้าง ดังหลักฐานที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกและได้สร้างพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ในวัดถ้ำสวรรณคูหา อำเภอสุวรรณคูหา และนำไพร่พลมาบูรณะสร้างบ้านสร้างสาเมืองนครหนองบัวลุ่มภูขึ้นใหม่อีกครั้งที่ริมหนองบัว (หนองซำซ้าง) ซึ่งเป็นเมืองเก่าสมัยขอมเรืองอำนาจ พระไชยเชษฐาธิราชได้สร้างพระพุทธรูป วิหาร และขุดบ่อน้ำในบริเวณวัดศรีคูณเมือง[6] และยกฐานะเป็นเมือง “เวียงจำปานครกาบแก้วบัวบาน” มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์ คนทั่วไปนิยมเรียกว่า “หนองบัวลุ่มภู” ซึ้งปัจจุบันเรียกเพี้ยนมาว่าหนองบัวลำภูถือว่าเป็นเมืองเอกล้านช้างตะวันตกของอาณาจักรล้านช้าง
ปี พ.ศ. 2117 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในระหว่างที่ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ให้แก่พม่าสมัยพระเจ้าหงสาวดี[ต้องการอ้างอิง] สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชได้ยกกองทัพช่วยพม่ารบกับกรุงเวียงจันทน์ โดยมีสมเด็จพระนเรศวรตามเสด็จพระราชบิดาช่วยรบ เนื่องจากพระไชยเชษฐาธิราชได้หายสาบสูญไปในระหว่างการรบปราบข่า ที่ลาวใต้ เวียงจันทน์เกิดการแย่งชิงราชสมบัติจึงได้ถือโอกาสเข้าตีกรุงเวียงจันทน์ สมเด็จพระมหาธรรมราชาและสมเด็จพระนเรศวร นำกองทัพเสด็จประทับแรมที่บริเวณหนองบัว เนื่องจากมีทัศนียภาพที่สวยงามและมีแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคในบริเวณนั้น สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงพระประชวรด้วยไข้ทรพิษ พระเจ้าหงสาวดีได้รับข่าวจึงอนุญาตให้สมเด็จพระนเรศวรเดินทางกลับเพื่อรักษาพระองค์
ประมาณปี พ.ศ. 2302 ตรงกับสมัยพระเจ้าเอกทัศน์กษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าสุวรรณปางคำปาหลัง(เจ้าปางคำ)พร้อมเสนาบดีจากเมืองเชียงรุ่งและพระวอซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระวรราชภักดีและพระตา มีภูมิลำเนาเดิมที่บ้านหินโงม เป็นเสนาบดีของพระเจ้ากรุงเวียงจันทน์ มาตั้งแต่สมัย พระเจ้าอนุวงษ์ไทธิราช เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ฝ่ายนอกของกษัตริย์กรุงเวียงจันทน์ มีเรื่องขัดใจกับพระเจ้าศิริบุญสารผู้เป็นโอรส พระวอและพระตาได้อพยพไพร่พลข้ามลำน้ำโขงมาตั้งภูมิลำเนา มาบูรณะสร้างบ้านแปลงเมืองที่ “เวียงจำปานครกาบแก้วบัวบาน”ให้เป็นเวียงใหม่เป็นเวียงนครใหญ่ชื่อว่า เวียงใหม่นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ซึ่งเป็นเอกราชไม่ขึ้นต่อผู้ใด มีกฏบัญญัติบ้านเมือง มีกษัตริย์ปกครอง มีดินแดนกำแพงคูเมืองล้อมรอบพร้อมประตูเวียง มีแม่น้ำแม่พระเนียงเป็นสายหลัก มีเมืองหน้าด่านของตัวเอง ได้แก่เมืองนาด้วง ภูเวียง ผาขาว พรรณา พร้อมผู้คนและช้างเผือกคู่เวียง
สมัยธนบุรี
อนุสาวรีย์เจ้าพระวรราชปิตา (ตา) และเจ้าพระวรราชภักดี (วอ) เจ้าผู้ครองนคร และวีรบุรุษแห่งนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลุ่มภู)
ปีจุลศักราช 1140 ปีจอ สัมฤทธิศก ตรงกับปี พ.ศ. 2321 ตรงกับต้นสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระเจ้าศิริบุญสารแห่งเมืองเวียงจันทน์ยกทัพมาตีพระวอและพระตาที่เมือง “นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน” (ชื่อจังหวัดหนองบัวลำภูในสมัยนั้น) ทำการสู้รบกันที่ช่องน้ำจั่น (น้ำตกเฒ่าโต้) บนภูพานคำใช้เวลาอยู่ประมาณ 3 ปี ฝ่ายเวียงจันทน์ขอกำลังจากพม่ามาช่วยรบ จึงสามารถตีเมืองแตกได้ พระตาถูกข้าศึกฆ่าในสนามรบ ส่วนพระวออพยพหนีไปตามลุ่มแม่น้ำชี ลงไปขอพึ่งบารมีพระเจ้าไชยกุมาร ที่นครจำปาศักดิ์ และได้อนุญาตให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลเวียงดอนกอง (หรือเรียกว่าบ้านดู่บ้านแก) หลังจากนั้นพระวอเกิดผิดใจกับพระเจ้าไชยกุมาร จึงได้อพยพผู้คนขึ้นมาตั้งเมืองอยู่ที่ดอนมดแดง (ปัจจุบันคือจังหวัดอุบลราชธานี) แล้วขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระเจ้ากรุงธนบุรี ดังความในพระราชพงศาวดารกรุงธนบรีว่า
“…ในปีจอนั้น ฝ่ายข้างกรุงศรีสัตนาคนหุต พระวอผู้หนึ่งเป็น อุปฮาด มีความพิโรธขัดเคืองมาตั้งอยู่ ณ หนองบัวลำภู ซ่องสุมผู้คนได้มากจึงสร้างขึ้นเป็นเมืองตั้งค่ายเสาไม้แก่นให้ชื่อเมือง จัมปานครแขวงกาบแก้วบัวบาน แล้วแข็งเมืองต่อพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตแต่งกองทัพให้ยกมาตี พระวอก็ต่อรบตีทัพล้านช้างแตกกลับไป แล้วพระวอแต่งให้ขุนนางนำเครื่องราชบรรณาการขึ้นไปเมืองอังวะขอกองทัพพม่าลงมาตีกรุงศรีสัตนาคนหุต พระเจ้าอังวะให้แมงละแงเป็นแม่ทัพถือพลสี่พันยกลงมาจะตีกรุงศรีสัตนาคนหุต ทัพพม่ามาถึงกลางทางพระเจ้าล้านช้างได้ทราบข่าวศึกจึงแต่งท้าวเพี้ยให้นำเครื่อง บรรณาการไปให้แก่แม่ทัพพม่าขอขึ้นแก่กรุงอังวะ ให้กองทัพยกไปตีพระวอณเมืองหนองบัวลำภูซึ่งเป็นกบฎแก่กรุงศรีสัตนาคนหุต แล้วนำทัพพะม่ามาพักพล ณ เมืองล้านช้าง พระเจ้าล้านช้างแต่งต้อนรับแม่ทัพพม่าแล้วจัดแจงกองทัพเข้าบรรจบทัพพม่า แมงละแงแม่ทัพก็ยกทัพพม่าทัพลาวไปตีเมืองหนองบัวลำภู พระวอ ต่อสู้เหลือกำลังก็ทิ้งเมืองเสียพาครอบครัวอพยพแตกหนีไปตั้งอยู่ตำบลดอนมดแดงเหนือเมืองจัมปาศักดิ์ แล้วแต่งท้าวเพี้ยถือศุภอักษรแลเครื่องบรรณาการมาถึงพระยานครราชสีมา ขอเป็นเมืองขึ้นข้าขอบขัณฑสีมากรุงเทพมหานครศรีอยุธยา เอาพระเดชานุภาพสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเป็นที่พึ่งพำนักสืบไป พระยานครราชสีมาก็บอกส่งทูตแลศุภอักษร เครื่องบรรณาการลงมายังกรุงธนบุรี สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานสิ่งของตอบแทนไปแก่พระวอ แล้วโปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ณดอนมดแดงนั้น…”
ต่อมาในปี พ.ศ. 2321 พระเจ้าศิริบุญสารได้ยกกองทัพมารุกรานพระวอ และปราบพระวอได้ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบรีทราบ โปรดสั่งให้เจ้าพระยาจักรียกกองทัพไปมาช่วยพระวอ แล้วยกกองทัพติดตามเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทน์จนได้ชัยชนะ และได้นำพระแก้วมรกตซึ่งพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชนำไปจากเมืองเชียงใหม่กลับมาคืนสู่เมืองไทยดังเดิม พระยาจักรีได้รับบำเหน็จความชอบเป็น “เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก” กรุงเวียงจันทน์ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของไทยในฐานะเมืองประเทศราช และเมือง “นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน” จึงได้ขึ้นกับราชอาณาจักรไทยตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีระบุว่า
“…ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตได้ทราบข่าวพระวอยกลงไปตั้งเมืองอยู่ ณ ดอนมดแดง จึงแต่งให้พระยาสุโภเป็นนายทัพยกพลทหารลงมาตีเมืองดอนมดแดง จับตัวพระวอได้ให้ประหารชีวิตเสีย แล้วก็เลิกกองทัพกลับไปเมืองล้านช้าง ฝ่ายท้าวก่ำบุตรพระวอแล้วท้าวเพี้ยทั้งปวงจึงบอกหนังสือมาถึงพระยานครราชสีมาว่ากองทัพเมืองล้านช้างยกมาตีเมืองดอนมดแดงแตกฆ่าพระวอเสีย ข้าพเจ้าทั้งปวงมีกำลังน้อยสู้รบตอบแทนมิได้ จะขอทัพกรุงเทพมหานครยกไปตีเมืองล้านช้างแก้แค้น พระยานครราชสีมาก็บอกลงมายังกรุงธนบุรีกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระพิโรธดำรัสว่า พระวอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาเมืองเรา แลพระยาล้านช้างมิได้ยำเกรงทำอำนาจมาตีบ้านเมืองแลฆ่าพระวอเสียฉะนี้ ควรเราจะยกกองทัพไปตีเมืองล้านช้างให้ยับเยินตอบแทนแก้แค้นให้จงได้ ครั้น ณ เดือนอ้ายปีจอ สัมฤทธิศก จงมีพระราชดำรัสให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพ กับเจ้าพระยาสุรสีห์ แลท้าวพระยามุขมนตรีผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งในกรุงแลหัวเมืองเป็นอันมาก พลทหารสองหมื่นสรรพด้วยช้างม้าเครื่องสรรพาวุธพร้อมเสร็จ ให้ยกกองทัพไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุต คือเมืองล้านช้าง…”
สมัยรัตนโกสินทร์
ปี พ.ศ. 2369 ในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ได้ ยกทัพมาบุกยึดเมืองนครราชสีมาทางกรุงเทพได้ส่งกองทัพมาปราบ ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ได้ถอยร่นไปตั้งรับอยู่ที่เมือง “หนองบัวลุ่มภู” สู้รบกันเป็นสามารถ และติดตามจับเจ้าอนุวงศ์ได้ที่เมืองเวียงจันทน์ แล้วนำตัวไปพิจารณาโทษที่กรุงเทพ ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านหนองบัวลุ่มภู เป็นเมืองชื่อ เมืองกมุทาสัยบุรีรมย์ หรือเมืองกมุทธาสัย ขึ้นกับเมืองหนองคาย โดยโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวจันทกุมาร (ท้าวพิมพา) บุตรเจ้าราชวงศ์เมืองหนองคาย เป็นเจ้าเมือง รับสัญญาบัตรเป็น พระวิชโยดมกมุทรเขตร ปรากฏตามสำเนาสัญญาบัตร เล่ม 1 การแต่งตั้งขุนนางหัวเมืองในสมัยรัชกาลที่ 5 ตรงกับวันจันทร์ ขั้น 8 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ จุลศักราช 1239 ตรงกับพุทธศักราช 2417 ความว่า
“…ให้ท้าวจันทกุมาร บุตรราชวงศ์คนเก่า เปนพระวิชโยดมกมุทเขตร ครองเมืองกมุทาสัยบุรีรมย์ ซึ่งแต่ก่อนเปนบ้านหนองบัวลำภู ขึ้นเมืองหนองคาย ได้บังคับบัญชาท้าวเพี้ยกรมการ ตั้งแต่ ณ วัน ๑ ฯ ๘ ค่ำ ปีจอ ฉศก ศักราช ๑๒๓๖ เป็นวันที่ ๒๐๘๒ ในรัชกาลปัจจุบันนี้…”
ช่วงนี้เมืองกมุทธาสัยได้ขึ้นอยู่กับเมืองหนองคาย โดยมีพระยาปทุมเทวาภิบาล ผู้สำเร็จราชการเมืองหนองคายเป็นผู้ควบคุมบังคับบัญชา ต่อมาเมื่อโปรดเกล้าฯ ให้แต่งข้าหลวงใหญ่ล้วนเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 พระองค์ในปี พ.ศ. 2434 คือ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เรียกว่า “ข้าหลวงเมืองลาวกาว” เป็นข้าหลวงประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี และในปี พ.ศ. 2436 กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่ประทับ ณ เมืองอุดรธานี เรียกว่า “ข้าหลวงเมืองลาวพวน” และกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นข้าหลวงใหญ่ประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี เรียกว่า “ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว” เมืองกมุทสัยมีฐานะเป็นหนึ่งในหัวเมืองชั้นเอกของมณฑลลาวพวน จนเมื่อปี พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อมณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดรและรวมผังเมืองต่างๆ ในมณลอุดรเป็น 5 บริเวณ ได้แก่ บริเวณบ้านหมากแข้ง บริเวณธาตุพนม บริเวณสกลนคร บริเวณพาชี บริเวณน้ำเหือง เมืองกมุทธาสัยได้ถูกรวมอยู่ในบริเวณบ้านหมากแข้งประกอบด้วย 7 เมืองคือ เมืองหมากแข้ง หนองคาย หนองหาน กุมภวาปี กมุทาสัย โพนพิสัย และรัตนวาปีตั้งที่ว่าการอยู่ที่บ้านหมากแข้งปี ขึ้นกับบริเวณบ้านหมากแข้ง ต่อมาในปีพ.ศ. 2449 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เสด็จตรวจราชในหัวเมืองอีสาน และมีพระดำริให้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองกมุทธาสัยมาเป็น เมืองหนองบัวลำภูตามเดิม ดังปรากฏในพระนิพนธ์สาส์นสมเด็จซึ่งเป็น พระหัตถเลขาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีโต้ตอบถวาย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ฉบับวันที่12 ธันวาคม 2478 ความว่า “… เมื่อหม่อมฉันได้รับคำชี้แจงที่เมืองอุดรว่าหนองบัวลำภูนั้น คือเมืองกมุทาสัย ซึ่งยกขึ้นเป็นเมืองเมื่อในรัชกาลที่ 4 (ที่ถูกต้อง คือ สมัยรัชกาลที่ 5) หม่อมฉันกลับลงมากรุงเทพฯ ได้มีท้องตราสั่งให้เปลี่ยนชื่อเมืองกมุทาสัย ซึ่งลดลงเป็นอำเภออยู่ในเวลานั้น กลับ เรียกชื่อเดิมว่า อำเภอหนองบัวลำภู ดูเหมือนจะยังใช้อยู่จนบัดนี้…”
พระวิชโยดมกมุทรเขตร (พิมพา) เป็นเจ้าเมืองกมุทาสัยได้ 32 ปี ก็ถึงแก่กรรม ในปี พ.ศ. 2449 จึงมีท้องตรามหาดไทยให้ท้าวเสือ กรมการเมือง รั้งตำแหน่งเจ้าเมืองแทน รับสัญญาบัตรเป็นที่ พระวิจารณ์กมุทธกิจ
ในปี พ.ศ. 2450 ได้โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยรวมเมืองต่าง ๆ ในบริเวณบ้านหมากแข้งตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า “เมืองอุดรธานี” ส่วนเมืองในสังกัดบริเวณให้มีฐานะเป็นอำเภอ เมืองกมุทาสัยซึ่งเวลานั้นเปลี่ยนชื่อเป็น เมืองหนองบัวลำภู จึงกลายเป็น อำเภอหนองบัวลำภู โดยมี พระวิจารณ์กมุทธกิจ (เสือ เปรยะโพธิเดชะ) เป็นนายอำเภอคนแรก และมีอำเภอที่เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน โดยจัดตั้งขึ้นตามลำดับ 4 กิ่งอำเภอ คือ 1. กิ่งอำเภอโนนสัง เมื่อปี พ.ศ. 2491 2. กิ่งอำเภอศรีบุญเรือง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 3. กิ่งอำเภอนากลาง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 4. กิ่งอำเภอสุวรรณคูหา เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 (ส่วนกิ่งอำเภอนาวังแยกออกมาจากกิ่งอำเภอนากลางอีกต่อหนึ่ง) ปี พ.ศ. 2536 ประกาศจัดตั้งเป็น จังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 โดยประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2536